Category Archives: NEWS

รวมภาพบรรยากาศงานลอยกระทง และ งานฮาโลวีน จากโครงการที่ IRM ดูแล จัดจริง จัดเต็ม

บอกเลยว่าสนุก มันส์ ฮาแน่นอน ขอขอบคุณรูปภาพจากโครงการ -โกลเด้นท์ เลเจ้น สาทร-กัลปพฤกษ์ -สีวลี ปิ่นเกล้า-สาทร -เดอะ วิลเลจ บางนา -อินนิซิโอ รังสิตคลองสาม -เดอะพาร์คแลนด์ ศรีนคริทร์ -ทิว ริเวอร์เพลส บริหารงานดี

กิจกรรมเด่น ต้องIRMเท่านั้นค๊าาา

#betterliving #bettersolution #บริหารจัดการคอนโด #บริหารจัดการหมู่บ้าน #บริหารทรัพย์สิน #IRMNEXT #IRM

โครงการ เดอะคิทท์ ไลท์ บางกะดี-ติวานนท์ เฟส1 และ เฟส2

ขอขอบคุณโครงการ เดอะคิทท์ ไลท์ บางกะดี-ติวานนท์ เฟส1 และ เฟส2 โครงการ The Kith Lite บางกะดี-ติวานนท์ จาก Sena Development ตัวโครงการอยู่ติดถนนติวานนท์ฝั่งมุ่งหน้าสวนอุตสาหกรรมบางกะดี ในโครงการมีทั้ง Home Office และคอนโดที่เปิดไปแล้ว 2 อาคาร
ขอขอบคุณที่ไว้ใจให้เราเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการโครงการให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น

#betterliving #bettersolution #บริหารจัดการคอนโด #บริหารจัดการหมู่บ้าน #บริหารทรัพย์สิน #IRMNEXT #IRM

IRM บริหารจัดการคอนโดซิตี้โฮม-ศรีนครินทร์

ขอขอบคุณโครงการ ซิตี้โฮม ศรีนครินทร์ โครงการหมู่ตึกคอนโด Low Rise 12 ชั้น 5 อาคาร แนว Modern Spanish & Mexican style ตั้งอยู่ในซอยสุขุมวิท 105 (ซอยลาซาล )
จากศุภาลัยค่ะ ขอขอบคุณที่ไว้วางใจให้IRMเป็นส่วนหนึ่งในการบริหารจัดการโครงการของท่านให้มีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

#betterliving #bettersolution #บริหารจัดการคอนโด #บริหารจัดการหมู่บ้าน #บริหารทรัพย์สิน #IRMNEXT #IRM

IRM ชี้แนวทางแก้ปัญหากรรมการคอนโดมเนียมลาออก

IRM ชี้แนวทางแก้ปัญหากรรมการอาคารชุดลาออก

IRM ชี้แนวทางแก้ปัญหากรรมการคอนโดมเนียมลาออก ผู้จัดการนิติบุคคลและผู้อยู่อาศัยจะต้องดำเนินการอย่างไร?

อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) แนะแนวทางแก้ปัญหากรรมการอาคารชุดลาออก เผยจะเป็นอุปสรรคต่อการบริหารทรัพย์สินเมื่อเกิดสุญญากาศในคอนโดมิเนียม เผยบทบาทและหน้าที่ของผู้จัดการนิติบุคคลและเจ้าของร่วม สามารถแก้ไขได้ตามที่กฎหมายกำหนด

นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัญหาเรื่องกรรมการอาคารชุดยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปกติแล้วแต่ละอาคารจะต้องมีกรรมการไม่น้อยกว่า 3 คน ละไม่เกิน 9 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกตั้งในการประชุมใหญ่ แต่เมื่อมีเหตุการณ์บางอย่างจึงทำให้กรรมการลาออกทั้งชุดก่อนที่จะหมดวาระ จึงทำให้เกิดปัญหาเรื่องการบริหารจัดการในคอนโดมิเนียมแห่งนั้นทันที เนื่องจากบทบาทและหน้าที่ของกรรมการมีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน เช่น การอนุมัติเช็คสำหรับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ประจำเดือน รวมทั้งพิจารณาจัดจ้างเรื่องต่าง ๆ ที่ผู้จัดการนิติบุคคลนำเสนอฯลฯ แต่เมื่อเกิดปัญหาเรื่องกรรมการลาออกอาจทำให้มีปัญหาอื่น ๆ ตามมาอย่างแน่นอน

“หากกรรมการลาออกทั้งหมดแล้วทำให้เกิดสุญญากาศในการบริหารจัดการ ดังนั้น จะต้องมีผู้ที่สามารถเรียกประชุมโครงการอีกครั้งหนึ่ง นั่นก็คือ ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดซึ่งเป็นตัวแทนของนิติบุคคลตามกฎหมาย ซึ่งได้ระบุว่าผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุดสามารถทำนิติกรรมต่าง ๆ หรือการเรียกประชุมฉุกเฉิน สาเหตุที่ต้องเรียกประชุมใหญ่วิสามัญนั้นเพราะต้องกำหนดวาระประชุมเลือกกรรมการขึ้นมาใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยากนักผู้จัดการนิติบุคคลสามารถดำเนินการได้ทันทีและต้องทำอย่างเร่งด่วน” นายธนันทร์เอกกล่าว
อย่างไรก็ตาม ปัญหาเรื่องกรรมการลาออกจะบานปลายได้หากผู้จัดการนิติบุคคลไม่ทำอะไรเลย เมื่อโครงการใดมีปัญหาดังกล่าวแล้วผู้จัดการนิติบุคคลไม่ทำหน้าที่ของตนเอง กฎหมายอาคารชุดกำหนดว่าให้เจ้าของบ้านหรือเจ้าของร่วมที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมดังกล่าวรวมตัวกันไม่น้อยไปกว่า 25% ร้องขอให้ผู้จัดการนิติจัดประชุมใหญ่วิสามัญเพื่อเลือกกรรมการชุดใหม่มาทำหน้าที่แทนชุดที่ลาออกไป โดยกำหนดวาระให้ชัดเจนว่าจะดำเนินการเรื่องกรรมการ หากสามารถจัดประชุมได้ก็จะมีกรรมการมาทำหน้าที่ แต่ถ้าผู้จัดการนิติบุคคลไม่จัดประชุมตามที่ผู้อยู่อาศัยต้องการ เนื่องจากบางโครงการก็มีผู้จัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพ ยังมีแนวทางแก้ไขเพราะ กฎหมายเปิดช่องว่างให้เจ้าของร่วมไม่น้อยกว่า 25% สามารถจัดประชุมวิสามัญเพื่อเลือกตั้งกรรมการเองได้

นายธนันทร์เอกกล่าวเพิ่มเติมว่า ที่ยากไปกว่านั้นก็คือหากคอนโดดังกล่าวมีปัญหาทั้งกรรมการและผู้จัดการนิติบุคคลลาออก เป็นเรื่องใหญ่มากเพราะจะไม่มีใครดำเนินการอนุมัติค่าใช้จ่ายรวมทั้งเรื่องการบริหารจัดการภายในโครงการ ทางออกเรื่องนี้คือลูกบ้านต้องรวมตัวกันเพื่อจัดประชุมกันเองได้ เนื่องจากกฎหมายได้ระบุให้ลูกบ้านสามารถจัดประชุมเองได้หากเกิดปัญหาดังกล่าวขึ้นภายในโครงการ ทั้งนี้ สามารถสรุปได้ว่า หากกรรมการลาออกสามารถให้ผู้จัดการนิติจัดประชุม แต่ถ้าลาออกทั้งหมดลูกบ้านสามารถจัดประชุมเองได้

ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 25 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคล สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th

ร่วมลงนามสัญญาว่าจ้างจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กับคณะกรรมการหมู่บ้าน Excellence

IRM-News-007
IRM-News-007

ร่วมลงนามสัญญาว่าจ้างจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กับคณะกรรมการหมู่บ้าน Excellence ในเครือบริษัท สิรารมย์ โคราช

นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ (ที่ 2 จากขวา) ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามสัญญาว่าจ้างจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร กับคณะกรรมการหมู่บ้าน Excellence ในเครือบริษัท สิรารมย์ โคราช ที่ไว้วางใจให้ บริษัท ไออาร์เอ็ม เอ็กซ์ตร้า จำกัด ในเครือ IRM เข้าบริหารทรัพย์สินในโครงการดังกล่าว

ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินในอาคารชุดและบ้านจัดสรร รวมทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคล มากว่า 25 ปี สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th

IRM แนะทางออกความขัดแย้งการอยู่อาศัยในคอนโดฯและบ้านจัดสรร

IRM แนะทางออกความขัดแย้งการอยู่อาศัยในคอนโดฯและบ้านจัดสรร ยืนยันหากไม่โปร่งใสสามารถดำเนินการตาม พ.ร.บ.อาคารชุด

อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) แนะทางออกปัญหาความขัดแย้งระหว่างกรรมการหมู่บ้านและคอนโดฯ กับผู้อยู่อาศัย หากบทบาทและการทำงานไม่เป็นไปตามนโยบายและไม่โปร่งใส ยืนยันสามารถดำเนินการตามพ.ร.บ.อาคารชุดและพ.ร.บ.บ้านจัดสรร

นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นจากการอยู่อาศัยร่วมกันในคอนโดและบ้านจัดสรรว่า ที่ผ่านมามักมีความขัดแย้งระหว่างผู้อยู่อาศัยกับกรรมการหมู่บ้าน เพราะบางครั้งบทบาทและการดำเนินของกรรมการไม่เป็นไปตามนโยบายของหมู่บ้าน เช่น กรรมการไม่ได้ทำตามมติที่ประชุมที่กำหนดไว้ หรือใช้เงินที่ไม่ถูกต้อง รวมทั้งปัญหาค่าใช้จ่ายบางประเภทที่ต้องมีการตรวจสอบฯลฯ ปัญหาเหล่านี้จะลุกลามมากขึ้นหากไม่ได้คุยกัน โดยเฉพาะการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมบางแห่งที่คณะกรรมการอาจได้รับประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้าง เช่น การทาสีอาคารของตัวคอนโดมิเนียม ปกติจะต้องมีการเสนอราคาเปรียบเทียบอย่างน้อย 3-4 ราย ซึ่งพนักงานที่เป็นผู้ดูแลนิติบุคคลหรือคณะกรรมการมีส่วนในการคัดเลือก อาจมีปัญหาเรื่องการเรียกรับผลประโยชน์จากการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งทำให้ต้องจ้างแพงกว่าปกติ แม้ว่าการตรวจสอบจะเป็นเรื่องยากแต่บางแห่งมีการแฉหลักฐานการรับผลประโยชน์ จึงต้องอาศัยกฎหมายอาคารชุดหรือกฎหมายบ้านจัดสรรเข้ามาช่วยจัดการกับปัญหาดังกล่าว

ในฐานะที่ดูแลการบริหารทรัพย์สินพบเห็นปัญหาและเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นหากลูกบ้านไม่ไว้วางใจกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถจัดประชุมใหญ่ ซึ่งวิธีการเรียกประชุมนั้นมี 2 แบบคือ การประชุมใหญ่สามัญประจำปีซึ่งในแต่ละปีจะจัดขึ้น 1 ครั้ง และการประชุมวิสามัญหรือการประชุมฉุกเฉิน ที่สามารถกำหนดเรื่องที่จะประชุมกันเองได้ โดยต้องกำหนดวาระเพื่อเรียกลูกบ้านเข้าร่วมประชุม เพื่อถกเถียงถึงปัญหาและลงมติไม่ไว้วางใจคณะกรรมการ โดยใช้เสียงข้างมากของที่ประชุม 1 ใน 4 ก็สามารถปลดกรรมการหรือปลดผู้ที่มีปัญหาออกได้โดยชอบด้วยกฎหมาย และดำเนินการเลือกตั้งคณะกรรมการชุดใหม่

อีกปัญหาหนึ่งก็คือ กรณีความขัดแย้งระหว่างลูกบ้านกับผู้บริหารทรัพย์สินหรือเจ้าหน้าที่บริหารนิติบุคคล ที่ดำเนินการไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง ปัญหานี้คณะกรรมการสามารถตรวจสอบและมีมติให้ออกหรือเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องเอาเข้าที่ประชุมใหญ่ อย่างไรก็ตาม เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาความขัดแย้งหรือความไม่โปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง การดำเนินงานทุกขั้นตอนจะต้องสามารถตรวจสอบได้ ทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายประจำที่เกิดขึ้นและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราว เช่น การทาสีอาคาร การสร้างที่จอดรถ หรืออื่น ๆ ที่มีค่าใช้จ่ายสูง จะต้องดำเนินการเปิดเผยข้อมูลและติดประกาศให้ทุกฝ่ายรับรู้ แม้ว่าการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรรมักจะเกิดความขัดแย้งบ้าง หากทุกฝ่ายอยู่อาศัยและดำเนินงานตามกติกาที่กำหนดไว้จะสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างราบรื่น และขอฝากไว้ว่าหากเกิดปัญหาจะต้องแก้ไขตามข้อบังคับไม่สามารถดำเนินการตามลำพังได้ แต่ต้องอาศัยตัวแทนหรือกรรมการที่เลือกตั้งขึ้นมาแล้วดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 25 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคล สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th

ร่วมกิจกรรมฝึกอบรมและประชุมพนักงานระดับผู้จัดการของบริษัท ไออาร์เอ็ม เอ็กซ์ตร้า จำกัด

IRM-News-005
IRM-News-005

ร่วมกิจกรรมฝึกอบรมและประชุมพนักงานระดับผู้จัดการของบริษัท ไออาร์เอ็ม เอ็กซ์ตร้า จำกัด

เมื่อเร็ว ๆ นี้ นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย ร่วมกิจกรรมฝึกอบรมและประชุมพนักงานระดับผู้จัดการของบริษัท ไออาร์เอ็ม เอ็กซ์ตร้า จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ IRM ที่บริหารทรัพย์สินในโครงการต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการประชุมดังกล่าวได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือนอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบการทำงานและการบริการลูกค้า โดยเน้นสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งและสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า
ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 25 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคล สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th

IRM เผยนิติบุคคลต้องมีหน้าที่ในการดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง

IRM-news-004
IRM-news-004

IRM เผยนิติบุคคลต้องมีหน้าที่ในการดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง

IRM เผยนิติบุคคลต้องมีหน้าที่ในการดูแลทรัพย์สินส่วนกลาง
อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) เผยหน้าที่และความรับผิดชอบนิติบุคคลบ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม ยืนยันต้องมีหน้าที่ในการบำรุงและซ่อมแซมอุปกรณ์ต่าง ๆ พร้อมทั้งชดใช้และเยียวยาค่าเสียหายที่เกิดจากทรัพย์สินส่วนกลาง

นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีเหตุการณ์คัดแย้งระหว่างเจ้าของร่วมหรือผู้อยู่อาศัยกับนิติบุคคลอย่างต่อเนื่อง เพราะในอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรรนั้นมีลูกบ้านอยู่จำนวนมาก ทั้งปัญหาเรื่องความพึงพอใจด้านต่าง ๆ และปัญหาเรื่องความปลอดภัย ซึ่งมีทั้งเรื่องเล็กน้อยที่ตกลงกันเองได้และเป็นเรื่องใหญ่ที่ได้รับความสนใจจากสังคม เนื่องจากความไม่รับผิดชอบและการตกลงกันไม่ได้ของคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย จึงทำให้เกิดคำถามตามมาว่าใครจะรับผิดชอบหากเกิดปัญหาหรืออุบัติเหตุที่มีสาเหตุมาจากทรัพย์สินในโครงการ

ตัวอย่างเช่น ผู้อยู่อาศัยในโครงการขับขี่รถจักรยานยนต์แล้วโดนไม้กระดกชนหัวบริเวณทางเข้าหมู่บ้าน ผู้ประสบอุบัติเหตุครั้งนี้ต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล หลายคนคงอยากรู้ว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล ในฐานะที่ค่ำหวอดอยู่ในหน้าที่การบริหารทรัพย์สินคิดว่าเรื่องนี้ต้องเริ่มต้นจากทรัพย์สินของหมู่บ้าน ซึ่งนิติบุคคลเป็นผู้ที่มีหน้าที่และรับผิดชอบในการบำรุงและซ่อมแซม เนื่องจากได้เก็บค่าส่วนกลางจากเจ้าของร่วมไปแล้ว ดังนั้น หากเกิดปัญหาต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุหรือข้อบกพร่องของทรัพย์สินส่วนกลาง นิติบุคคลจึงมีหน้าที่ในการตรวจสอบและรับผิดชอบค่าเสียหายต่าง ๆ ที่เกิดจากความบกพร่องของทรัพย์สินส่วนกลาง

อย่างไรก็ตาม เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินถือเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เมื่อเกิดปัญหาแล้วจะต้องมีการตรวจสอบอย่างละเอียดว่า เกิดจากความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรักษาความปลอดภัย หรือเกิดจากความเสื่อมและชำรุดของอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้งพิจารณาถึงเรื่องความประมาทเลินเล่อของแต่ละบุคคลด้วย ดังนั้น การใช้ชีวิตประจำวันในหมู่บ้านจัดสรรและคอนโดมิเนียม เจ้าของร่วมจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องสอดส่องดูแลเพื่อเป็นหูเป็นตาว่าอุปกรณ์ส่วนไหนชำรุดหรือมีปัญหาในการใช้งานจะต้องแจ้งกับนิติบุคคลเพื่อแก้ไขทันที เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์เลวร้ายต่าง ๆ ขึ้น อย่าไปคิดว่าเป็นหน้าที่ของนิติบุคคลเท่านั้น เนื่องจากพนักงานในโครงการอาจไม่รู้ว่าอุปกรณ์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกใดบ้างที่มีปัญหา

ทั้งนี้ IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 25 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคล สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th

เปิดธุรกิจในคอนโดและบ้านจัดสรรผิดกฎหมายหรือไม่?

เปิดธุรกิจในคอนโดและบ้านจัดสรรผิดกฎหมายหรือไม่

เปิดธุรกิจในคอนโดและบ้านจัดสรรผิดกฎหมายหรือไม่

IRMเผยทางออกปัญหาการใช้อาคารและที่พักอาศัยผิดประเภท
IRM เผยทางออกปัญหาการใช้อาคารและที่พักอาศัยผิดประเภท ยืนยันที่ผ่านมามีการฝ่าฝืนกฎหมายเปิดสถานประกอบการและธุรกิจในโครงการที่อยู่อาศัย แนะผู้บริหารทรัพย์สินมืออาชีพออกกฎระเบียบและควบคุมเพื่อความเรียบร้อยของผู้อยู่อาศัย
นายธนันทร์เอก หวานฉ่ำ ประธานกรรมการเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินเตอร์เรียลตี้แมเนจเม้นท์ จำกัด (IRM) และอดีตนายกสมาคมบริหารทรัพย์สินแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ที่ผ่านมาโครงการบ้านจัดสรรและอาคารชุดจำนวนมากมักจะมีสำนักงานหรือสถานประกอบการอื่นๆ ปะปนกับการอยู่อาศัยทั่วไป และมีการร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวเนื่องจากผู้อยู่อาศัยไม่ปฏิบัติตามฎหมายและข้อบังคับของนิติบุคคล ทำให้เกิดผลกระทบต่าง ๆ ตามมา เช่น มีผลต่อมูลค่าทรัพย์สินลดลง เนื่องจากความไม่เป็นระเบียบของชุมชนและการอยู่อาศัย และทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยเพราะจะมีคนเข้า-ออกโครงการอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้แล้วยังทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างผู้อยู่อาศัยด้วยกันเอง ที่สำคัญจะทำให้โครงการมีค่าใช้จ่ายส่วนกลางเพิ่มขึ้น เนื่องจากความถี่ในการใช้ทรัพย์สินส่วนกลางทำให้เกิดความเสื่อมได้เร็วกว่าโครงการพักอาศัยทั่วไป

ทั้งนี้ โครงการอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์ในการขออนุญาตก่อสร้างซึ่งจะต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด หากเป็นโครงการบ้านจัดสรรและคอนโดฯ ที่ระบุว่าเป็นที่พักอาศัยอย่างเดียวไม่สามารถนำไปใช้เป็นสถานประกอบการเชิงพาณิชย์ได้แต่มีบางโครงการที่มีการขออนุญาตก่อสร้างเพื่อพักอาศัยและประกอบการพาณิชย์ได้บางส่วน ซึ่งในข้อบังคับจะต้องกำหนดว่าอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง เลขที่เท่าไหร่ที่สามารถประกอบการเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งผู้ประกอบการมืออาชีพมักจะระบุไว้ในลักษณะนี้ซึ่งจะต้องมีทางเข้า-ออกแยกจากส่วนการพักอาศัย ซึ่งเรื่องนี้กฎหมายบังคับไว้ชัดเจน ที่สำคัญ จะต้องระบุให้ต้องเสียค่าส่วนกลางมากกว่าการอยู่อาศัยแบบปกติ ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้พื้นที่ส่วนกลางว่ามีมากน้อยแค่ไหน

“หากโครงการอาคารชุดและหมู่บ้านจัดสรรต้องการให้ใช้พื้นที่เพื่อการพาณิชย์ได้ จะต้องมีการควบคุมและระบุประเภทที่ต้องมีบริการนั้น ๆ อย่างชัดเจน เช่น มีบริการต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการอยู่อาศัย แต่ต้องจำกัดประเภทของบริการ เช่น ห้ามมีร้านสุราหรือสถานบันเทิง หรือธุรกิจสร้างความเดือนร้อนให้กับการอยู่อาศัย ที่สำคัญต้องมีการควบคุมราคาและค่าบริการเพื่อประโยชน์ของผู้พักอาศัย นอกจากนี้แล้วผู้บริหารทรัพย์สินจะต้องคอยดูแลเรื่องข้อบังคับว่าควรจะมีบริการใดที่เหมาะสมหากมีสถานประกอบการรวมกับที่พักอาศัยจะต้องอยู่ในกฎระเบียบ เช่น ห้ามนำของมาวางหน้าห้อง หรือร้านอาหารจะต้องดูแลเรื่องควันและดูแลเรื่องความสะอาด หากมีการฝ่าฝืนผู้บริหารทรัพย์สินต้องเข้มงวดเพื่อให้สมาชิกทำตามกฎระเบียบ ต้องออกระเบียบและมีประกาศที่ชัดเจนว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไร และหากมีการฝ่าฝืนต้องยกเลิกบริการนั้น ๆ ทันที”นายธนันทร์เอกกล่าว

อย่างไรก็ตาม การฝ่าฝืนกฎระเบียบและทำให้เกิดความเสียหายต่อภาพรวม หากมีการร้องเรียนว่าไม่ถูกต้องตามที่ขออนุญาตไว้โครงการจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย หากนิติบุคคลเกิดความเสียหายจากการฝ่าฝืนผู้บริหารทรัพย์สินสามารถดำเนินการฟ้องร้องกับผู้ที่กระทำผิดได้ ดังนั้น ผู้อยู่อาศัยจะต้องรู้จักบทบาทของตนเองและปฏิบัติตามระเบียบของสถานที่นั้น ๆ และผู้บริหารทรัพย์มืออาชีพจะต้องออกประกาศอย่างชัดเจนห้ามทำอะไรในโครงการบ้าง ส่วนผู้ประกอบการจะต้องมีความชัดเจนตั้งแต่ขั้นตอนการขออนุญาตก่อสร้าง

IRM มีประสบการณ์ในการบริหารทรัพย์สินทั้งในอาคารชุดและบ้านจัดสรรมากว่า 20 ปี ทั้งการจัดประชุมใหญ่และจดทะเบียนนิติบุคคลบ้านจัดสรร สนใจสอบถามข้อมูลการให้บริการเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2204-1077-82 หรือ www.irm.co.th